เมนู

บทว่า ปพฺเพนิวาสานุสฺสติญฺญาณาย ความว่า เมื่อจิตนั่นอัน
เป็นบาทแห่งอภิญญา เกิดแล้วอย่างนั้น, (เราได้น้อมจิตไป) เพื่อประโยชน์
แก่บุพเพนิวาสานุสติญาณนั้น.

[อรรถาธิบายวิเคราะห์ ปุพเพนิวาสศัพท์]


ในบรรดาบทว่า ปุพเพนิวาสา เป็นต้นนี้ พึงทราบวิเคราะห์ศัพท์
ดังนี้ :-
ขันธ์ที่คนเคยอยู่แล้วในกาลก่อน คือในอดีตชาติ ชื่อว่า ปุพเพนิวาส
(ขันธ์ที่ตนเคยอยู่แล้วในกาลก่อน).
ขันธ์ที่ตนเคยอยู่ทับแล้ว คือที่ตนตามเสวยแล้ว ได้แก่ ที่เกิดขึ้นใน
สันดานของตนแล้วดับไป หรือธรรมที่ตนเคยอยู่แล้ว ชื่อว่า นิวุฏฺฐา
(ขันธ์หรือธรรมที่ตนเคยอยู่ทับแล้ว).
ธรรมทั้งหลายที่ตนเคยอยู่ ด้วยการอยู่โดยความเป็นโคจร คือที่ตน
รู้แจ้ง ได้แก่ที่ตนกำหนดแล้ว ด้วยวิญญาณของตน หรือแม้ที่ตนรู้แจ้งแล้ว
ด้วยวิญญาณของผู้อื่น ในญาณทั้งหลายมีการตามระลึกถึงสังสารวัฏที่ตนตัดได้
ขาดแล้ว ชื่อว่า นิวฏฺฐา.
พระโยคาวจรย่อมตามระลึกได้ถึงขันธ์ ที่ตนเคยอยู่ในกาลก่อนด้วย
สติใด,* สตินั้นชื่อว่า บุพเพนิวาสานุสติ ในคำว่า ปุพเพนิวาสานุสสติ นี้ .
ญาณที่สัมปยุตด้วยสตินั้น ชื่อว่า ญาณ. เพื่อประโยชน์แก่บุพเพ-
นิวาสานุสติญาณนี้, มีคำอธิบายว่า (เราได้น้อมจิตไป) เพื่อบุพเพนิวาสา-
นุสติญาณ คือเพื่อบรรลุ ได้แก่เพื่อถึงญาณนั้น ด้วยประการฉะนี้.
* วิสุทธิมรรค. 2 / 21.

บทว่า อภินินฺนาเมสึ แปลว่า เราได้น้อยไปเฉพาะแล้ว. บทว่า
โส คือ โส อหํ แปลว่า เรานั้น. บทว่า อเนกวิหิตํ แปลว่า มิใช่
ชาติเดียว, อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า อันเราให้เป็นไปแล้ว คือพรรณนาไว้แล้ว
โดยอเนกประการ. บทว่า ปุพฺเพนิวาสํ ได้แก่สันดานอันเราเคยอยู่ประจำ
ในภพนั้น ๆ ตั้งต้นแต่ภพที่ล่วงแล้วเป็นลำดับไป. ด้วยบทว่า อนุสฺสรามิ นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงว่า เราได้ตามระลึกไป ๆ ถึงลำดับแห่งชาติ
ได้อย่างนี้ คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้างเป็นต้น, อีกอย่างหนึ่ง
เราระลึกตามได้จริง ๆ คือเมื่อจิตสักว่าเราได้น้อมไปเฉพาะแล้วเท่านั้น เราก็
ระลึกได้. จริงอยู่ พระมหาบุรุษทั้งหลายผู้มีบารมีเต็มเปี่ยมแล้ว ไม่มีการทำ
บริกรรม เพราะเหตุนั้น มหาบุรุษเหล่านั้น พอน้อมจิตมุ่งตรงไปเท่านั้น
ก็ย่อมระลึก (ชาติ) ได้. ส่วนกุลบุตรผู้เป็นอาทิกรรมิกทั้งหลาย ต้องทำ
บริกรรมจึงระลึก (ชาติ) ได้ เพราะเหตุนั้น การบริกรรมด้วยสามารถแห่ง
กุลบุตรเหล่านั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย. แต่เมื่อข้าพเจ้าจะกล่าวการบริกรรมนั้น
จะทำนิทานแห่งพระวินัยให้เป็นภาระหนักยิ่ง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจะไม่
กล่าวการบริกรรมนั้นไว้ แต่นักศึกษาผู้มีความต้องการควรถือเอาบริกรรมนั้น
ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในปกรณ์วิเศษชื่อวิสุทธิมรรค*. ก็ในนิทาน
แห่งพระวินัยนี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนาไว้เฉพาะบาลีเท่านั้น,
บทว่า เสยฺยถีทํ เป็นนิบาต ลงในอรรถแห่งการแสดงประการที่
พระองค์ทรงเริ่มไว้แล้ว. เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะ
ทรงแสดงประการที่ต่างกันแห่งบุพเพนิวาส ที่พระองค์ทรงเริ่มไว้แล้วนั้น จึง
* วิสุทธิมรรค. 2 /251-253.

ตรัสคำมีอาทิว่า เอกมฺปิ ชาตึ เป็นต้น. ในคำว่า เอกมฺปิ ชาตึ เป็นต้นนั้น
มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สองบทว่า เอกมฺปิ ชาตึ ความว่า ชาติหนึ่งบ้าง ได้แก่ ขันธสันดาน
อันนับเนื่องในภพหนึ่ง. ซึ่งมีปฏิสนธิเป็นมูล มีจุติเป็นที่สุด. บทว่า เทฺวปิ
ชาติโย เป็นต้น ก็นัยนี้.

[อรรถาธิบายเรื่องกัป]


อนึ่ง ในบทว่า อเนเกปิ สํวฏฺฏกปฺเป เป็นต้น พึงทราบว่า
กัปที่กำลังเสื่อมลง ชื่อว่าสังวัฏฏกัป, กัปที่กำลังเจริญขึ้น ชื่อวิวัฏฏกัป. บรรดา
สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปทั้ง 2 นั้น สังวัฏฏฐายีกัป ชื่อว่าเป็นอันท่านถือเอาแล้ว
ด้วยสังวัฏฏัป เพราะสังวัฏฏกัปเป็นมูลเดิมแห่งสังวัฏฏฐายีกัปนั้น และ
วิวัฏฏฐายีกัป ก็เป็นอันท่านถือเอาแล้วด้วยวิวัฏฏกัป.
จริงอยู่ เมื่อถือเอาเช่นนั้น กัปทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อสงไขยกัป 4 อย่างเหล่านี้, 4 อย่างเป็นไฉน ? คือ
สังวัฏฏกัป 1 สังวัฏฏฐายีกัป 1 วิวัฏฏกัป 1 วิวัฏฏฐายีกัป* 1, ทั้งหมด
ย่อมเป็นอันท่านถือเอาแล้ว.
บรรดากัปเหล่านั้น สังวัฏฏกัปมี 3 คือ เตโชสังวัฏฏกัป (คือกัปที่
พินาศไปเพราะไฟ) 1 อาโปสังวัฏฏกัป (คือกัปที่พินาศไปเพราะน้ำ) 1 วาโย-
สังวัฏฏกัป (คือกัปที่พินาศไปเพราะลม) 1.
เขตแดนแห่งสังวัฏฏกัปมี 3 คือ ชั้นอาภัสสระ 1 ชั้นสุภกิณหะ 1
ชั้นเวหัปผละ 1. ในกาลใด กัปย่อมพินาศไปเพราะไฟ, ในกาลนั้น โลกย่อม
ถูกไฟเผา ภายใต้ตั้งแต่ชั้นอาภัสสระลงมา, ในกาลใด กัปย่อมพินาศไปเพราะน้ำ
* องฺ. จตุกฺก. 21 / 190